Categories
CFP Diary

CFP Diary EP2 : การสอบเป็นตัวแทนประกันชีวิต

จากตอนที่แล้ว ที่ได้เล่าไว้ว่าผมมีเป้าหมายว่าอยากจะเป็นนักวางแผนทางการเงินที่ได้รับคุณวุฒิ CFP และได้รับคำปรึกษาจากนักวางแผนทางการเงินท่านนึงว่าควรอย่างไรหากมีงานประจำอยู่ คำแนะนำที่ได้คือให้ไปสมัครสอบเป็นตัวแทนประกันชีวิต

และตอนนี้ผมได้เป็นตัวแทนประกันชีวิตเรียบร้อยแล้ว วันนี้จึงมาขอเขียนเล่าวิธีการที่จะได้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของผมให้ซักหน่อย


ขั้นที่ 1 หาตัวแทนประกันชีวิตที่รู้จัก

ส่วนตัวผมเองพอดีได้รู้จักกับรุ่นพี่ท่านนึง ทียินดีที่จะถ่ายทอดความรู้เรื่องการวางแผนเกษียณให้ฟัง ซึ่งพี่เค้าเองก็เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ Focus ในเรื่องการเกษียณเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าเค้าคือ Annuity Man เลย ผมจึงตอบรับพี่เค้าในการเป็นตัวแทนประกันชีวิตกับบริษัทที่พี่เค้าสังกัดอยู่

แต่สำหรับใครที่ไม่รู้จักใครเลย คำแนะนำของผมคือ ให้ลองโพสบน Social Media ของตัวเองดู ผมเชื่อว่าต้องมีคนรอบข้างคนซัก 1 คน ที่เป็นตัวแทนชีวิตอยู่บ้างแหล่ะ หรือถ้าสนใจจะเป็นจริง ๆ แต่ไม่รู้จักใครเลยจริง ๆ ทัก Line ผมมาก็ได้นะ

 


ขั้นที่ 2 อบรม อ่านหนังสือ (ติวสอบ)

การที่จะได้เป็นตัวแทนประกันชีวิตนั้น จำเป็นที่จะต้องทำการสอบขอใบอนุญาตก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วก่อนสอบขอใบอนุญาต บริษัทประกันชีวิตจะทำการจัดอบรมตัวแทนประกันชีวิตให้ก่อน (ผมเข้าใจว่าเป็นระเบียบขอ คปภ. ด้วย) เพื่อที่จะมีความรู้เข้าใจพื้นฐานในการเป็นตัวแทนประกันชีวิต

เมื่อทำการอบรมเสร็จ ก็ทำการทำการเตรียมตัวสอบโดยการอ่านหนังสือ หรือการอบรมเพื่อเตรียมสอบโดยเฉพาะ (ติวสอบ) ซึ่งจะเป็นการอบรมในลักษณะสรุปให้กระชับง่ายต่อการจำมากขึ้น

 


ขั้นที่ 3 สอบขอใบอนุญาต

หลังจากที่ฝึกอบรมเสร็จ ทุกคนสามารถสอบได้เลย หรือใครจะไปทบทวนก่อนก็ได้ โดยข้อสอบนั้นจะเป็นข้อสอบกลางที่มีการสุ่มออกมาให้ทำทั้งหมด 50 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. จรรยาบรรณ มีข้อสอบ 10 ข้อ (จำเป็นต้องทำถูก 70% หรือ 7 ข้อ)
  2. ความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต 40 ข้อ (จำเป็นต้องถูก 60% หรือ 24 ข้อ) ได้แก่
    หลักการประกันชีวิต 20 ข้อ
    ประมวลกฏหมายฯ 10 ข้อ
    พระราชบัญญัติประกันชีวิต 10 ข้อ

 

สำหรับผมแล้ว ผมว่าข้อสอบไม่ได้ยากมาก แต่แนะนำว่าควรจะอ่านทบทวนซักรอบ 2 รอบก่อนสอบเพื่อความชัวร์และเป็นการทบทวนความจำไปในตัว โดยเฉพาะในเรื่องของจรรยาบรรณ เพราะผิดได้เพียง 3 ข้อเท่านั้น

 


ขั้นที่ 4 ยื่นเอกสารขอรหัสตัวแทนประกันชีวิต

หลังจากที่ทำการสอบเสร็จ ก็ทำการยื่นเอกสารและค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตกับผู้ประสานงานของกลุ่มตัวแทนประกันชีวิตที่ตัวเองสังกัดอยู่ และสุดท้ายทางบริษัทประกันชีวิตก็จะทำการออกหมายเลขรหัสตัวแทนประกันชีวิตให้แก่เรา เป็นอันเสร็จในเรื่องของการได้รับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต

 


เมื่อเราได้รับรหัสตัวแทนประกันชีวิตแล้ว ถือได้ว่าเราสามารถขายแบบประกันชีวิตได้แล้ว ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทและตัวเราแล้วว่าจะทำยังไงต่อไป

สำหรับผมเองคือขอเริ่มศึกษารูปแบบประกันชีวิตก่อน และจะนำมาจัดความเหมาะสมว่า แบบประกันแต่ละประเภทเหมาะสมกับกลุ่มแบบไหน ซึ่งในส่วนนี้เองหากได้เรียนรู้อะไรมา ก็จะมาทยอยเขียนเพื่อแชร์ไอเดียต่างให้ได้อ่านกันนะครับ

Facebook Comments