Disclaimer
ในสัปดาห์ต้นเดือนพฤษภา 2022 เริ่มคำว่า วิกฤต โผล่ขึ้นมาแล้ว เลยไปลองเปิด index ใหญ่ ๆ ดู ในฝั่งสหรัฐฯ พบว่าก็มีการปรับตัวลงมากพอสมควร จาก All Time High ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
Disclaimer
ในสัปดาห์ต้นเดือนพฤษภา 2022 เริ่มคำว่า วิกฤต โผล่ขึ้นมาแล้ว เลยไปลองเปิด index ใหญ่ ๆ ดู ในฝั่งสหรัฐฯ พบว่าก็มีการปรับตัวลงมากพอสมควร จาก All Time High ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หยิบหนังสือเล่มนี้ติดมือขึ้นมาอ่าน อ่านจบแล้วอยากเขียนรีวิวทิ้งไว้ ให้ตัวเองมาอ่านอีกรอบ เพราะรู้สึกว่าเหมาะมาก กับ พ่อแม่ ที่มีลูกวัย 3-5 ขวบ
ขอแชร์บทเรียนจากการลงทุนในปีนี้ซักหน่อย
ปีนี้ใช้เวลากับการลอง/ศึกษาเพิ่มเติมส่วนนี้ได้ไม่มากนัก
ที่คัดมาเขียนคือที่เห็นชัดขึ้น และนึกออก
ใครเจออะไรกันมาบ้าง แชร์กันได้นะฮะ
Post ขอหยิบเรื่องราวส่วนตัวมาเล่าหน่อย เกี่ยวกับแนวคิด แนวทางการวางแผนการเงินของตัวเองในส่วนของลูกชาย (เซน) ซึ่งอาจจะไม่ใช่ Best Practice แต่ก็คิดว่าน่าจะให้มุมคิดอะไรได้บ้าง ไม่มากก็น้อย กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ หรือ ไม่ก็ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ล่ะกันครับ 🙂
ช่วงวันหยุดยาวนี้ได้มีเวลาทบทวนตัวเองในบางเรื่อง มีเรื่องนึงที่ได้ลองทบทวนตัวเองแล้วคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ คือ เรื่องความสามารถในการรับความเสี่ยงจากการลงทุน
แต่เดิมผมเองเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำมาก คือ หากขาดทุนแล้วจะไม่สบายใจเอามาก ๆ เลย ต้องมีกำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดี เลยทำให้ช่วงเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ นี่ จะมีประกันสะสมทรัพย์ซะเยอะ แล้วก็พวกบัญชีฝากออมทรัพย์พิเศษดอกเบี้ยสูงบ้าง
พอถึงวันนี้ย้อนไปกลับไปดูตัวเองอีกที ก็บอกกับตัวเองว่า เรานี่มาไกลจากจุดเดิมเหมือนกันแฮะ เลยมาวิเคราะห์ดูว่า จุดเปลี่ยน ที่ทำให้ตัวเองสามารถรับความเสี่ยงได้มากยิ่งขึ้น มันมีลำดับขั้นตอนยังไง เลยขอมาแชร์ซักหน่อย
ห่างหายไปนานเลยกับบทความใน Category Blog พอดีเมื่อวันก่อนผมรีวิวแผนการเงินของตัวเองสำหรับค่าใช้จ่ายลูก (ปัจจุบันอายุ 3 เดือน 👶🏻) โดยมีรายได้ส่วนนึงมาจากสิทธิสวัสดิการประกันสังคม คือ ค่าคลอดบุตร 15,000 บาทและ กรณีสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาท (ซึ่งจะได้รับจนถึงอายุ 6 ปี)
ซึ่งผมเองได้ทำเรื่องเบิกสิทธินี้ตั้งแต่เดือนแรกที่ลูกเกิดเลย และคิดว่าจะนำเงินนี้มาลงทุนเพื่อให้เค้าในอนาคต
# กองทุนตราสารหนี้ ใช่ว่าจะมีสภาพคล่องสูงเสมอไป (เจอปิดกองเข้าไป . . . จบเลย)
# สำหรับการลงทุนระยะยาว การมีคำมั่นกับตัวเองว่า พอร์ตสามารถขาดทุนได้เท่าไหร่ก็ช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตไปได้หากมันยังไม่ลงไปถึงจุดนั้น แต่ถ้ารู้สึกกระวนกระวายมาก ๆ แสดงว่า นั่นไม่ได้จุดที่เราสามารถรับความเสี่ยงได้จริง ๆ (ต้องปรับพอร์ตให้เสี่ยงต่ำลง)
# การกระจายความเสี่ยงเห็นผลชัดเจนมากในปีนี้ บางสินทรัพย์ลง บางสินทรัพย์ซึม บางสินทรัพย์ขึ้นบ้างและบางสินทรัพย์พุ่ง ถัว ๆ กันไป
# หากจัดเป็นพอร์ตแล้ว เวลาดูผลตอบแทนให้ดูเป็นพอร์ต อย่าดูเป็นรายกอง เพราะแต่ละสินทรัพย์มันก็มีช่วงเวลาของมัน
# เวลาที่ตลาดเป็นขาลง หากเลี่ยงออกมาได้ก่อน จะลดความสูญเสียไปได้ดี Stop loss ก็เป็นเรื่องสำคัญ
# กองทุนค่า fee ถูกใช่ว่าจะดีเสมอไป (แม้ใน long term ก็ตาม) ควรดู performance ประกอบด้วย จะได้ลดค่าเสียโอกาสลงไป
# พอร์ตเป้าหมายระยะสั้น ต้องการผลตอบแทนสูง ก็ต้องรับความผันผวนให้ได้สูงเช่นกัน
# พอร์ตออมเพื่อเป้าหมายระยะยาว ก้มหน้าก้มตา DCA ต่อไปเถิดจะเกิดผล
# ลงทุนเงินก้อนกับสินทรัพย์เสี่ยงสูง ทยอยเข้าน่าจะดีกว่า
# ดูเหมือนความโหยหาผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดจะมีมากขึ้น ดัังนั้น ควรจำกัดความเสี่ยงการลงทุนไว้ก่อน
# โลกแห่งการลงทุนใน Crypto currency (จากที่ลองมา 1 สัปดาห์)
สภาพคล่องสูง (มีคนซื้อ ๆ ขาย ๆ แทบตลอดเวลา)
ทุนไม่ต้องมาก (ไม่มีขั้นต่ำ)
ราคาเรียลไทม์ (จะซื้อราคาที่เห็น หรือตั้งราคาซื้อก็ได้)
ซื้อขายได้ตลอด (24 ชั่วโมง)
แต่ความผันผวนสูงมากมาก (บวก ลบ xx% ใน 1 วัน เป็นเรื่องปกติ)
# เช็คความเสี่ยงของตัวเองก่อนลงทุน หากไม่รู้ ลองลงเล็ก ๆ ไปก่อน
# คำถามสำคัญก่อนเริ่มต้นลงทุน “แผนการลงทุนของเราคืออะไร” . . . สุดท้ายนี้ ที่เราลงทุนอยู่ทุกวันนี้ เรามีแผนแล้วรึยัง ?
[หมายเหตุ : ในบทความนี้มีการกล่าวถึงชื่อกองทุนเพียงเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้เป็นการชี้นำว่าเป็นกองทุนที่ควรเข้าซื้อหรือไม่ควรเข้าซื้อแต่อย่างใด]
เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันบ่อยครั้งว่า เลือกกองปันผล หรือกองไม่ปันผลดี เรียกได้ว่า ติดแฮชแท็ก แบ่งทีมกันได้เลย
เลยอยากจะมาชวนกันดูซักหน่อยว่า กองทุน 2 ลักษณะนี้ มันแตกต่างกันยังไง มีเรื่องอะไรที่เราควรพิจารณาก่อนซื้อบ้าง
พรุ่งนี้จะเป็นวันแรกที่สามารถซื้อกองทุน SSFX ได้เบื้องต้นระยะเวลาในการซื้อคือ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. (ไม่รู้ว่าจะขยายเวลาอีกไหม)
ส่วนด้านล่างเป็นความเห็นส่วนตัวต่อการซื้อ SSFX นะครับส่วนรายละเอียดอื่น
สวัสดีวันสิ้นเดือนแรกของปี 🙂
วันนี้ขอเขียน practice การวางแผนการเงินส่วนตัวหน่อย ว่าทำอะไรไปบ้าง ในเดือนแรกของปี