Categories
Blog

ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยตัวเอง

วันนี้อยากจะมาชวนตรวจสุขภาพทางการเงินกันด้วยตัวเอง ร่างกายเรา เรายังต้องไปตรวจสุขภาพ แล้วการเงินเรา ทำไมถึงไม่ตรวจกันบ้าง ทั้ง ๆ ที่เราสามารถตรวจกันได้ด้วยตัวเอง

Categories
Blog

ค่าใช้จ่ายรายปี กับ กองทุนรวมตลาดเงิน

ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในทุก ๆ ปี เช่น ค่าส่วนกลางหมู่บ้าน/คอนโด ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าประกันภัยรถยนต์ ค่าตรวจสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ถึงแม้ว่าเรารู้ล่วงหน้าว่าจะต้องจ่ายในเดือนไหน แต่ในบางครั้งมันจะเหตุการณ์ที่แบบว่า พอใกล้ ๆ จะจ่ายแล้ว “เฮ้ย จะเอาจากที่ไหนมาจ่ายดี” หรือจ่ายไปแล้วอาจจะต้องทำให้เราอยู่อย่างประหยัดสุด ๆ ในเดือนนั้น เป็นต้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 50% ของรายรับในเดือนนั้น

Categories
Blog

มีเงินเท่านี้ ซื้อรถ ราคาเท่าไหร่ดี ?

ช่วงปลายปีแบบนี้ งานกำลังมีงาน Motor Expo พอดี
หลาย ๆ คนก็อาจจะเล็ง ๆ รถคันใหม่ไว้
แต่จะซื้อรถใหม่ทั้งที เราก็ควรดู budget ที่เรามีด้วยเหมือนกัน
ไม่งั้นซื้อไป ผ่อนไม่ไหว อาจจะเกิดอาการชักหน้าไม่ถึงหลังก็ได้

เลยอยากจะชวนให้มาวางแผนการเงินกันก่อนซื้อรถ
ว่าถ้าจะซื้อรถ ราคารถที่เราควรซื้อนั้น ควรอยู่ที่เท่าไหร่

Categories
Blog

สาเหตุของการละเลยการวางแผนทางการเงิน

ตอนอ่านหนังสือเตรียมสอบ มีเนื้อหาส่วนนึงว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยเรื่องการวางแผนการเงิน คิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยอยากเขียนสรุปมาให้อ่านกันในภาษาของตัวเอง

Categories
Blog

5 รู้ก่อนวางแผนการเงิน

ก่อนที่จะวางแผนการเงิน ผมว่ามีอยู่ 5 เรื่องที่เราควรจะรู้กันก่อน และเป็น 5 เรื่องที่เราทุกคนควรจะรู้เมื่อเริ่มต้นทำงานหรือมีรายได้เข้ามา เช่นกัน

Categories
Blog

มาใช้เงินเดือนชนเดือน อย่างสบายใจกันดีกว่า

ผมซาบซึ้งถึงคำว่า “ใช้เงินเดือนชนเดือน”
ก็ตอนที่นำเงินมาสร้างบ้านนี่แหล่ะ
ตอนนั้น เอาเงินเก็บทั้งหมดที่มี มาลงกับบ้านหมดเลย
เงินโบนัส เงินเดือนที่ได้มา ก็เอามาจ่ายกับเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่

เงินสดที่มีสภาพคล่องสูง เรียกได้ว่าเป็น 0 ในทุก ๆ สิ้นเดือน
สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีเงินติดกระเป๋าพันนิด ๆ
เฝ้ารอให้เงินเดือนออก จะได้มีเงินมาใช้จ่าย (รวมถึงจ่ายค่าทำบ้านด้วย)
เป็นแบบนี้อยู่เกือบปี จนกระทั่งบ้านเสร็จ

Categories
Blog

12 บทเรียน จากการลงทุนกองทุนรวม 12 เดือน

เอาเข้าจริง ๆ ผมเพิ่งเริ่มต้นลงทุน ด้วยการซื้อกองทุนรวม มาได้ 1 ปี นิด ๆ โดยใช้เวลาศึกษาในเรื่องของกองทุนรวมประมาณ 3 – 4 เดือน แล้วเริ่มจัดพอร์ต และ 12 ข้อด้านล่างนี้เป็นข้อคิดที่ได้จากการลงทุนใน 1 ปีที่ผ่านมา

Categories
Blog

เปรียบเทียบ แบบประกันตลอดชีพ กับ แบบประกันชั่วระยะเวลา+ลงทุนในกองทุนรวม

เมื่อวานนี้เขียนถึงเรื่องการซื้อประกันให้ถูกวัตถุประสงค์โดยเปรียบเทียบ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลากับประกันชีวิตแบบตลอดชีพ วันนี้เลยอยากมาเปรียบเทียบกันให้ดูหากว่า เราใส่เงินจำนวนที่เท่ากัน ระหว่าง

(1) การซื้อประกันตลอดชีพ กับ
(2) การซื้อประกันแบบชั่วระยะเวลา (TERM) + กับนำเงินส่วนต่างไปซื้อกองทุนรวม

แบบไหนมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร โดยผมขอนำค่าเบี้ยประกัน เพศชาย อายุ 35 ปี ของบริษัทที่ผมเป็นตัวแทนอยู่มาแสดงเทียบกันล่ะกัน โดยโจทย์คือ

หากต้องการความคุ้มครอง 20 ปี ที่ทุนประกัน 1,000,000 บาท และมีเงินมรดกไว้ให้ลูกหลาน 1,000,000 บาท เมื่อตนเองเสียชีวิต (เมื่ออายุ 90 ปี หรือก่อนถึงอายุ 90 ปี)

เรามาดูกันว่าแต่ละแบบมีรายละเอียดยังไง

Categories
Blog

ซื้อประกันให้ตรงวัตถุประสงค์ ตอน ประกันแบบชั่วระยะเวลา (กำหนดระยะเวลาคุ้มครอง)

วันก่อนไปอบรมผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วมันก็มีแบบประกันบางตัวที่ค่าเบี้ยประกันต่ำกว่ามากและก็ตอบโจทย์ได้เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยจะได้เห็นว่ามีการซื้อขายกันซักเท่าไหร่

อย่างเช่น แบบประกันที่ต้องการความคุ้มครองระยะสั้น 5 ปี 10 ปี 15 ปี ถ้าอายุ 30 กว่าๆ ทุนประกัน 1 ล้านบาท จ่ายค่าเบี้ยประกันปีละ 4-5 พันบาท เท่านั้นเอง ซึ่งค่าเบี้ยต่ำกว่าแบบประกันตลอดชีพระดับเท่าตัวที่ทุน 1 ล้านบาท จะมีค่าเบี้ยเป็นหลักหมื่นบาท

Categories
Blog

จะลงทุนทั้งที ควรทำอะไรบ้าง

สัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปอบรมสำหรับเตรียมสอบ IC เพื่อที่จะขอวุฒิผู้แนะนำการลงทุน (รายละเอียดจะเขียนแยกอีกทีใน CFP Diary) มีเนื้อหาอยู่ส่วนนึงน่าสนใจ และคิดว่าเหมาะกับหลาย ๆ คนที่กำลังจะเริ่มต้นลงทุน เนื้อหาส่วนนี้กล่าวถึงกระบวนการตัดสินใจลงทุน เพื่อให้ผู้แนะนำการลงทุนนำไปใช้กับลูกค้า

แต่ผมคิดว่าเนื้อหาส่วนนี้สามารถให้ผู้ที่จะลงทุนทุกคนสามารถทำเองได้ และเป็นการวางรากฐานที่ดีสำหรับการเริ่มต้นที่จะลงทุนในตลาดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยกระบวนการตัดสินใจลงทุนนั้น จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้